History

          ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหน่วยงานในสังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับการก่อตั้งในปี พ.ศ. 2519 หลังจากที่คณะวิศวกรรม ศ่าสตร์ ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 2517 และย้ายมาจากที่ตั้งเดิมในวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรีมาอยู่ที่ลาดกระบังรวมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะเทคโนยีการเกษตร เป็นวิทยาเขตลาดกระบังของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตามนโยบายของรองศาสตราจารย์ โกศล เพ็ชร    สุวรรณ์ คณบดีสมัยนั้น โดยแยกภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์มาจากภาควิชาโทรคมนาคม ในปีเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเปิดนิทรรศการวิชาการ “พระจอมเกล้าลาดกระบังนิทรรศ” ครั้งแรกพร้อมกับทรงเปิดศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์

ในช่วงแรกภาควิชาฯ ยังใช้ตึกบริหารและวิจัย ร่วมกับภาควิชาโทรคมนาคมอยู่โดยมี ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงศ์ เป็นหัวหน้าภาควิชาท่านแรก ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่ตึก B จนถึงปัจจุบัน ภาควิชาฯได้แยกการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาจากหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้ามหาบัณฑิตในปีพุทธศักราช 2541 โดยเปิดสอนในระดับปริญญาโท “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์” เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา

history

ต่อมาในปีพุทธศักราช 2543 ภาควิชาฯได้เปิดสอนระดับปริญญาโท “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์” และได้เปิด “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ชีวการแพทย์” ในปีพุทธศักราช 2548 ตามลำดับ

   ทางด้านการวิจัยภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์เป็นสถานศึกษาแรกเริ่มของประเทศซึ่งมีการวิจัยทางด้านโซลาร์เซลล์ เลเซอร์และอุปกรณ์โซลิดสเตต ในปัจจุบันภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ จัดการเรียนการสอนเฉพาะทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ระดับแนวหน้าของประเทศ มีผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ในหลายๆสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับอิเล็กทรอนิกส์สามารถผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก โดยมีคณาจารย์จำนวน 40 คนและบุคลากรที่สนับสนุนงานด้านวิชาการจำนวน 5 คน อาจถือได้ว่าเป็นภาควิชาที่มีบุคคลากรและผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับสถาบันอย่างมาก และในปัจจุบันยังเป็นภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุด (จากจำนวนอาจารย์และนักศึกษา) ในระดับอุดมศึกษาอีกด้วย

วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีหัวหน้าภาควิชาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจำนวน 10 ท่านดังนี้

1. ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงศ์
2. ศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม
3. ผศ.พลผดุง ผดุงกุล
4. รศ.ดร.มนัส สังวรศิลป์
5. ผศ.ประภากร สุวรรณะ
6. ดร.กิติพล ชิตสกุล
7. ผศ.ดร.ยุทธนา คิดใจเดียว
8. รศ.สุชาติ คูณทวีเทพ
9. ผศ.ดร.กิติพล ชิตสกุล                                                                                                   10. รศ.ดร. สุรพันธุ์ เอื้อไพบูลย์ (ปัจจุบัน)

Just another WordPress site